ประวัติโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ

โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ  เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๗  โดยท่านซีกิมหยง คหบดีต้นตระกูล “ฉัยยากุล” ได้อุทิศที่ดินบริเวณสี่แยกถนนธรรมนูญวิถี ตัดกับถนนเสน่หานุสรณ์ เพื่อจัดตั้งโรงเรียน ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “จงฝายิฉิน” แต่ถูกปิดกิจการในปี พ.ศ. ๒๔๗๗

  • ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูล “จิระนคร” ได้ร่วมกับคณะกรรมการเปิดโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ก็ถูกทางการสั่งปิดอีก
  • ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะศิษย์เก่าโรงเรียนจงฝายิฉิน ได้ร่วมกันดำเนินการให้โรงเรียนได้เปิดสอนอีก โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “จุงฝาเยี่ยเสี้ยว” เปิดสอนภาคค่ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาคกลางวัน โรงเรียนเริ่มเป็นที่นิยมของชาวหาดใหญ่ทำให้สถานที่คับแคบ  ท่านซีกิมหยงจึงได้อุทิศที่ดินจำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา บริเวณถนนธรรมนูญวิถีซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน โรงเรียนจุงฝาเยี่ยเสี้ยวจึงย้ายมาสถานที่ใหม่   เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศรีนคร”   มีคุณกี่ จิระนคร  คุณเอกศักดิ์ องค์สกุล และคุณเช็งจือ ลือประเสริฐ บริหารงานร่วมกับคณะกรรมการจากสมาคมจีน ๕ สมาคม คือ สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมฮากกา สมาคมฮกเกี้ยน สมาคมไหหลำ และสมาคมกว๋องสิว  ได้ร่วมทุนสร้างอาคารขนาด ๓๐ ห้องเรียนขึ้น ๑ หลังแต่โรงเรียนก็ต้องปิดกิจการอีกครั้ง เนื่องจากปฏิบัติไม่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ จึงถูกถอนใบอนุญาตในปี พ.ศ. ๒๔๙๖
  • ปี พ.ศ. ๒๕๑๓  คุณเผชิญ ลีลาภรณ์ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าศรีนคร ได้ซื้อและโอนใบอนุญาตของโรงเรียนไชยยันต์วิทยามาจัดตั้งเป็นโรงเรียนศรีนคร   เปิดการสอนระดับชั้น    ประถมศึกษาปีที่ ๑   ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓
  • ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กรรมการบริหารโรงเรียนได้นำที่ดินไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิ โรงเรียนศรีนครหาดใหญ่ และได้สร้างอาคารใหม่ขึ้นแทนอาคารเก่าที่ชำรุด โรงเรียนศรีนครได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่” บริหารงานโดยคณะกรรมการจาก ๕  สมาคมจีนได้แก่ สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมฮากกา สมาคมฮกเกี้ยน สมาคมไหหลำ สมาคมกว๋องสิว ร่วมกับคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า ศรีนคร คือ นายนิคม ปรีชาวีรกุล ประธานมูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่ นายสมชัย พินัยกุล นายกสมาคมศิษย์เก่าศรีนคร
  • ปี พ.ศ.๒๕๓๙  มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ   ได้บริจาคเงินเพื่อสร้างหอประชุมโรงเรียนศรีนคร
  • ปี พ.ศ.๒๕๓๓ มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ   ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร  ๓  ชั้น  เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน
  • ปี พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๘ มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ   ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร  ๕ ชั้น  เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนและห้องสำนักงานต่างๆ
  • ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ”
  • ปี พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๘ คุณกังส์แสง  ศรีสวัสดิ์นุภาพ  ที่ปรึกษาชมรม สมาคม และมูลนิธิหาดใหญ่   ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร “หอสมุดกังส์แสง”  เพื่อใช้เป็นห้องสมุดสำหรับนักเรียนและชุมชนใกล้เคียงจำนวน ๑ หลัง  และมูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ   ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร ๔ ชั้น  เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนอีกจำนวน ๑ หลัง
  • ปี พ.ศ ๒๕๕๕  ได้ขยายชั้นเรียนโดยเปิดการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ รร.ศรีนครมูลนิธิ  ได้ก่อสร้างอาคาร กำพล เย็นใจชน หรือศูนย์วัฒนธรรมไทย – จีน

    ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ และได้แล้วเสร็จ…ในปีนี้….๒๕๕๘

    โดยใช้เวลาสร้างร่วม ๒ ปี บนเนื้อที่ ๑ แปลง พื้นที่ ๒ งาน ๕๔ ตารางวา มูลค่า ๒๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ของมูลนิธิโรงเรียนศรีนคร

    ซึ่งได้รับการสนับสนุนค่าก่อสร้างอาคาร “ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน” จำนวน ๔๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นอาคารสูง ๕ ชั้น พื้นที่ใช้สอย  ๒ งาน ๕๔ ตารางวา จาก คุณกำพล เย็นใจชน นายกสมาคมกว๋องสิวหาดใหญ่ และได้สร้างอาคารใหม่ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทย – จีน — ที่ รร.ศรีนครมูลนิธิ

     

  • โรงเรียนศรีนครได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่”

ซึ่งโรงเรียนของเรา ได้มีคณะกรรมการบริหารงานจาก 5 สมาคมจีน ได้แก่  

  • สมาคมฮากกา  
  • สมาคมแต้จิ๋ว
  • สมาคมฮกเกี้ยน  
  • สมาคมไหหลำ  
  • สมาคมกว๋องสิวหาดใหญ่
  • ร่วมกับคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าศรีนคร คือ
    • นายธรรมนูญ  โกวิทยา  ประธานมูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่

…และปัจจุบัน  โรงเรียนได้เปิดการสอนใน ๔ ระดับ  ตั้งแต่ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  บริหารงานโดย  มูลนิธิโรงเรียน  ศรีนครหาดใหญ่ มี นายธรรมนูญ  โกวิทยา  เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  และ นางบุปผา มณีพรหม  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ

泰国合艾国光中学简历

    自公元1795年(佛历2328年)即泰国节基王朝第一世皇帕普提耀华·朱拉叻陛下时代开始,泰国便有了课授华文,屈指算来也有214年的历史,在建立正规的中文学校之前,中文学习的方式主要还是在家里或庙堂内。采用的基础课本也是中国著名的《三字经》,学费则由学生家长随意乐助。这种情形在过去的合艾城埠亦是如此。
1923年,合艾埠开始有课授华文,主要形式是私塾,学生人数也不多,大约是30人左右。1924年,当时富甲一方的大慈善家徐锦荣先生,在现今合艾宪法路与第四街交接处,捐出一块地皮给当地华侨,作为从事教育的场所。为此,当地华侨特别成立一个管理委员会,并兴建了一间学校,命名为“中华益群学校”。1925年,学校正式招生办学。10年后学校因故停办。后经谢枢泗先生连同委员会共同努力,学校始得复办再开。1938年,泰国全国的华校被当时执政政府勒令停办。1945年,日本以“东亚共荣圈”为名发动的侵略战争刚刚结束,合艾华文课授以“中华夜校班 ”的名义出现。战后不久,合艾五属(潮、闽、琼、广、客)有关人士联合向当局申请兴办日班的“中华学校”,获得成功,引起合艾临近府治民众的瞩目。随着学生就读人数的增加,原有的教室已不敷使用。徐锦荣先生再捐献出一块位于今宪法路面积有13莱300平方哇(22,000平方米)的地皮(即今国光学校校址所在),提供给五属人士进行策划建新校之用,先建临时教师、围墙及屋顶,均是用干树叶(当地人称之为亚哒叶)筑成。逐将一部分学生从旧校中搬迁到新校临时教室就读。虽然那时五属华侨都在为组织各自的同乡会而奔忙,但兴学建校这一宗旨和有关计划,从未间断。

徐锦荣先生所捐献的13莱地皮原属菜园,地势教低,需大量填泥平整。五属同乡会筹集基金,将连接的一块3莱325平方哇(6,100平方米)地皮,从地主娘义手中购买下来,并过名在拥有泰籍身份的徐锦荣先生令次女宛丽•财雅军的名下。将购得的3莱地皮泥土,挖掘填充在低洼的13莱余地皮上,平整后面积合共有17莱225平方哇,并兴建 30间单层教室。建成后,将原有的学生全部由旧校搬迁到新校来就读。遵照当时泰国教育部有关民校课授外国语文(华文)有一定时间限制条例规定办学,学校名称则更名为“合艾国光学校”。
1590年,徐锦荣遗产办事处后裔负责人,请求五属同乡会,从各属的同乡会中。推派拥有泰籍身份的人土,作为各属同乡会的代表,将徐锦荣先生捐献的地皮予以过名。
1953年,学校因触犯教育部有关教授外文(华文)条例而被查封,执教执照也被吊销。
1968年,合艾国光校友会成立,第一届理事长李廷辉,原国光学校校长兼会议, 成立筹办委员会,发起复校运动。但因当时泰国政府对“被封后学校没有再重新复校”之政策而使复校工作无法进行。委员会乃决定收购同伦一间有课授小学一年级至初中的学校(校名雅财),并将全校师生迁移至合艾国光学校校舍上课,同时将雅财学校校名更改为“合艾国光学校”。1970年,五属会馆代表,合艾国光校友代表,徐锦荣遗产办事处,联合组成国光校董会,主理校政工作。

直到方志雄当选国光校友会理事长、潮州会馆副理事长,并于1983年出任国光校董会副董事长后(董事长为徐瑞昌,因病未能实行校政),咸认国光校舍建筑年期已久,大部分以成坍颓迹象,对师生安全大有影响,且建设已告落伍,有重建新校舍之必要,乃向五属校董提出讨论,结果都同意发动筹款重建计划,但因校产名未过归五属,恐怕未能得到社会人图的支持。方志雄即以校董会副董事长名义,联同当时五属会馆理事长,即陈卓书、苏雨霖、吴坤凤、谢木水、马国新等先向徐锦荣遗产办事处负责人征求得到同意,然后向三位信托人谢其昌,吕清书先生令妹坤巴依,王心福先生哲嗣抑他干君等情商,要求过名归五属会馆,为使合艾埠众人土可发场华文教育,为了培植后代子弟,在芳董事长连续努力情商之下,首先答应过名给五属者为谢其昌先生,毅然于1985年8月22日6授权书,授权于乃庆•素旺纳翁代表他本人将他名分下地产权过名五属。
1987年,方志雄先生荣任国光校董事会董事长后,便积极为重建国光中学而四处奔走,并成立建校委员会,拟定重建全部计划,以便能更进一步为发展校政,做出更多贡献,要把国光中学建成为一所泰南有名的学府,为合艾华侨写下历史新篇章。非把国光校产全部过名予国光学校教育慈善会不可。于是1991年,五属会馆理事长方志雄、陈玉钧、吴赐福、谢木水、李日清暨校友会代表,以及三位信托人代表共九名,向政府注册成立国光学校教育慈善会,即行向宋卡府法庭申请公断国光校产归属国光学校教育慈善会保管,并于1991年12月11日在宋卡地产局办妥过名手续。